วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1



กิจกรรมที่1
ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

ผู้แทนโดยชอบธรรม
หมายถึง  บุคคล ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้มีสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำการแทนบุคคลไร้ ความสามารถ หรือพูดอีกอย่างก็หมายถึง เป็นบุคคลที่จะต้องเป็นผู้ให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่บุคคลไร้ความ สามารถในอันที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด

หักกลบลบหนี้ 
หมายถึง  การ ที่คนสองคนต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน และหนี้นั้นเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว และคนใดคนหนึ่งแสดงเจตนาต่ออีกคนหนึ่งขอหักกลบลบหนี้เพื่อจะได้พ้นจากหนี้ ของตน เช่น ดำเป็นหนี้แดงอยู่ 20 บาท และแดงก็เป็นหนี้ดำอยู่ 15 บาท ทั้งสองคนจึงตกลงหักกลบลบหนี้กัน ดังนั้น ดำยังคงต้องใช้หนี้แดงอีกเพียง 5 บาท

คำกล่าวโทษ

หมายถึง  การ ที่บุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้เป็นผู้กล่าวหรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ขึ้นโดยจะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่รู้ก็ตาม

แจ้งความเท็จ

หมายถึง  การ นำเอาข้อเท็จจริงมาแจ้งต่อเจ้าพนักงาน โดยอาจแจ้งความด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ตาม ไม่ว่าการแจ้งนั้นจะมาแจ้งโดยตรงหรือแจ้งโดยการตอบคำถามของเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ ผู้แจ้งจะต้องรู้ว่าข้อความที่ตนแจ้งนั้นเป็นเท็จ ถ้าผู้แจ้งไม่รู้ว่าข้อความนั้นเป็นเท็จก็ไม่มีความผิด

โมฆะกรรม
หมายถึง  การ กระทำที่สูญเปล่า ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมต่างๆ นิติกรรมที่ทำนั้นเสียเปล่าไม่เกิดผลในทางกฎหมาย เท่ากับว่านิติกรรมนั้นไม่ได้ทำขึ้นมาเลย ใครเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมกล่าวอ้างการเป็นโมฆะกรรมได้เสมอ เช่น นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย เช่น ทำสัญญาจ้างฆ่าคน , ทำสัญญาจ้างให้เหาะให้ดู ฯลฯ

โมฆียกรรม
หมายถึง  การ ทำนิติกรรมที่สมบูรณ์ซึ่งมีผลบังคับได้ตามกฎหมายจนกว่าจะถูกบอกล้าง เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยมีเหตุบกพร่องบางอย่างในเรื่องความสามารถ หรือในเรื่องการแสดงเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เหตุบกพร่องไม่ได้ทำให้นิติกรรมสูญเปล่า นิติกรรมนั้นคงใช้ได้ตามกฎหมายตลอดไปจนกว่าจะมีการบอกล้าง เมื่อบอกล้างแล้วจึงถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ เสียเปล่ามาตั้งแต่แรก แต่ถ้าไม่ได้มีการบอกล้างจนล่วงเลยกำหนดตามกฎหมาย หรือมีการให้สัตยาบันรับรู้ในนิติกรรมนั้น นิติกรรมนั้นก็เป็นอันสมบูรณ์
นิติกรรมอำพราง
หมายถึง  การ ทำนิติกรรมขึ้นสองอย่าง อย่างหนึ่งทำขึ้นโดยมีเจตนาเพียงเพื่อปกปิดหรืออำพรางนิติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องการให้เป็นที่เปิดเผย ผลในทางกฎหมาย นิติกรรมอย่างแรกจะเป็นโมฆะ เพราะเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างคู่กรณี ส่วนนิติกรรมอย่างหลังที่ถูกอำพรางไว้จะมีผลในทางกฎหมาย

ความผิดหลายบท
หมายถึง  การ กระทำที่เป็นกรรมเดียวแต่เป็นความผิดตามกฎหมายหลายบท ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมายบทที่หนักที่สุด เช่น เอาหินขว้างใส่บ้านจนกระจกแตก และหินไปโดนคนในบ้านกะโหลกแตกตายอีกด้วย เป็นการทำผิดกฎหมายสองบทคือ เจตนาทำให้เสียทรัพย์ และฆ่าคนตาย เช่นนี้ผู้กระทำต้องรับโทษฐานฆ่าคนตาย ซึ่งมีโทษหนักกว่า
ที่มา: JeanZal2 .(2554). คำศัพท์กฎหมายทั่วไป. (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://blog.eduzones.com/cazii/82767 [7 พฤศจิกายน 2555]. 

โดยทุจริต

หมายถึง  เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

สาธารณสถาน

หมายถึง  สถานที่ใดๆซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
ดังนั้นความหมายของที่รโหฐาน จึงหมายถึงสถานที่ใดๆที่ประชาชนไม่มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้  เช่น เคหสถาน  เป็นต้น


อาวุธ
หมายถึง  สิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ

 เอกสาร  
หมายถึง  กระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่ได้ถูกบันทึก หรือทำให้ปรากฏด้วยการเขียน พิมพ์ ถ่ายรูป บันทึก หรือวิธีอื่นใด ให้ปรากฏเป็นข้อมูล ข่าวสาร ตัวเลข แบบ แผนผัง หรือสัญลักษณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดความหมายเพื่อการสื่อสารเกิดความเข้าใจได้

ที่มา: กลุ่มผู้หญิงกับสันติภาพ. (2553). คำศัพท์ทางกฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/wepeaceyala/kha-saphth-thang-kdhmay [7 พฤศจิกายน 2555]. 



จำเลย
หมายถึง ผู้ถูกฟ้องความ

โจทก์
หมายถึง ผู้ทักท้วง, ผู้ฟ้อง; ผู้กล่าวหา

กรรมสิทธิ์
หมายถึง ความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน รวมทั้งเครื่องหมายการค้า การพิมพ์และแปลหนังสือ

พยาน
หมายถึง ผู้รู้เห็น, คนหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันจะอ้างเป็นหลักฐาน

คดี
หมายถึง ทาง เช่น คดีโลก คดีธรรม; เรื่อง, ความ (คือเรื่องฟ้องร้องกันในโรงศาล)

ฟ้อง
หมายถึง กล่าวหา, กล่าวโทษต่อผู้ใหญ่หรือต่อศาล

จำนำ
หมายถึง เอาของไปไว้แทนเงินที่กู้มา

เจ้าหนี้
หมายถึง เจ้าของหนี้, ผู้ขายเชื่อ หรือให้กู้ยืมทรัพย์แก่บุคคลซึ่งเรียกว่าลูกหนี้

ลูกหนี้
หมายถึง ผู้เป็นหนี้, คู่กับคำว่า เจ้าหนี้

เช่าซื้อ
หมายถึง วิธีการซื้อโดยผ่อนส่งเงิน


ที่มา: เปลื้อง ณ นคร. (2554).  พจนานุกรม ไทย-ไทย  (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://guru.sanook.com/dictionary[7 พฤศจิกายน 2555]. 



หมิ่นประมาท
หมายถึง การ กล่าวด้วยวาจา หรือ ขีดเขียนเป็นหนังสือ หรือสะแดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจจะให้ผู้ถูกกล่าวเสียชื่อเสียงหรือให้คนทั้งหลายดูหมิ่นหรือเกลียด ชังในส่วนตัวผู้ถูกกล่าว ในตำแหน่งหน้าที่ ในวิชชาหากินหรือในการค้าขายของผู้ถูกกล่าว

ซื้อขาย
หมายถึง สัญญา ซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

นิติกรรม
หมายถึง  การใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระวางบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ

หมายนัด
หมายถึง  หมายที่ศาลนัดดูความให้ไปยังศาล

กติกา
หมายถึง 
การกำหนด, การนัดหมาย

กะเกณฑ์
หมายถึง
  บังคับ, กำหนด, หมาย

คำสนอง
หมายถึง
  คำรับตามที่มีผู้ขอเสนอมา


สมาหารหิตะคดี(โป๊ โปรคุปต์).(2549).พจนานุกรมกฎหมาย.กรุงเทพฯ:วิญญูชน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น