วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2



1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ    ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
มาตรา 30   บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน  การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้   มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ     หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
            ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
            มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
            การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
            มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การ ศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ    ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550   จุดกำเนิดรัฐธรรมนูญของไทย เกิดขึ้นจากบุคคลกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือนที่เรียกว่า "คณะราษฎร" ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือราชาธิปไตย ซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่พระมหากษัตริย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมายความว่า อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย และพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นประมุขของรัฐ
           การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" และต่อมา พระองค์ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ภายหลังทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการรำลึกถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของไทยฉบับแรก
รัฐธรรมนูญ เราสามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้
1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ
2. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงโครงสร้างการปกครองประเทศ
3. รัฐธรรมนูญวางหลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
4. รัฐธรรมนูญช่วยทำให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน
 
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ      เพราะรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศ สำหรับประเทศไทย  เราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  การเป็นพลเมืองไทย ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขนั้น บุคคลจะต้องเรียนรู้ สิทธิ เสรีภาพ และปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการเข้าใจความหมายของ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ประชาชนเคารพสิทธิของกันและกัน การใช้สิทธิของตนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดจะต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของผู้ อื่น เช่น รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนที่จะชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมหรือเจรจา ต่อรองใด ๆได้โดยสงบ และปราศจากอาวุธแต่ต้องไม่ก่อความเดือดร้อนต่อบุคคลอื่น เช่น กีดขวางการจราจร ปิดการจราจร หรือทำลายสิ่งของบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของทางราชการ เป็นต้น  เพื่อให้ รู้จักใช้สิทธิของตนเองและแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักใช้และรักษาสิทธิของตนเอง เช่น การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  เพื่อรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนและปลูกฝังแนวความคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชนแก่ชุมชนหรือสังคม ตามสถานภาพและบทบาทที่ตนพึงกระทำ  เพื่อจะได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  เพื่อปฏิบัติตนตามหน้าที่ของชาวไทยที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การเคารพต่อกฎหมาย การเสียภาษีอากร การเข้ารับราชการทหาร การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่ รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่ม จึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ     ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยเพราะการแก้รัฐธรรมนูญต้องแก้เพื่อประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น  ถ้าแก้เพื่ออย่างอื่นไม่ควรแก้เด็ดขาด
-เหตุผลที่มีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือ อาจจะเป็น เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นผลิตผลของเผด็จการ โดยไม่ดูเนื้อหาสาระ ใช่ว่าเป็นการแก้ปัญหาบ้านเมืองที่ถูกทาง ถ้าคิดกันได้เพียงแค่นั้น สุดท้ายก็จะมีสารพัดข้ออ้างเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกันซ้ำแล้วซ้ำอีก เนื่องจากเราไม่ได้แก้ให้สมบูรณ์ขึ้น แต่แก้เพื่อตอบสนองความไม่พอใจ 
อีกอย่างรัฐธรรมนูญเป็นกติกาของสังคมที่สังคมตกลงกันว่าช่วงเวลานี้ จะใช้กติกานี้ และหากว่าเสียงส่วนใหญ่ของสังคมเห็นว่าควรมีการแก้ไขใหม่ มันก็ย่อมแก้ไขได้ แนวคิดใดที่เสียงส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าต้องแก้ไข ก็ต้องแก้ไขไปตามเสียงส่วนใหญ่ และหากในอนาคต เสียงส่วนใหญ่เห็นว่าต้องแก้ไขอีก ก็ต้องเป็นไปตามเสียงส่วนใหญ่

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นัก ศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบ    ปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่  เช่น ปัญหาการขาดประสิทธิภาพและความสามารถของระบบการเมือง ในการแก้ไขปัญหาของสังคม
 - 
ปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพและ ความสามารถในการแก้ปัญหาของสังคมยังคงเป็นจุดวิกฤติของระบบการเมืองไทย ในขณะที่สถาบันทางการเมืองรัฐสภายังคงมีอ่อนแอทำให้ระบบราชการเป็นกลไกหลัก ในการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาการรวมอำนาจบริหาร การขาดประสิทธิภาพของระบบราชการหากผู้นำทางการเมืองไม่ตัดสินใจดำเนินการ แก้ไขปัญหาของระบบราชการอย่างจริงจังแล้วระบบการเมืองไทยในทศวรรษหน้านี้ จะประสบกับปัญหาทางสังคมที่ทวีทับถมกันมากและอาจเป็นอันตรายต่อการอยู่รอด ของระบบการเมืองไทยทั้งระบบได้   ทำให้ไม่มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมือง เพราะ ในเมื่อการเมืองไม่มีประสิทธิภาพ แล้วการที่จะบริหารประเทศให้พัฒนานั้นเกิดขึ้นได้ยาก


วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1



กิจกรรมที่1
ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

ผู้แทนโดยชอบธรรม
หมายถึง  บุคคล ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้มีสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำการแทนบุคคลไร้ ความสามารถ หรือพูดอีกอย่างก็หมายถึง เป็นบุคคลที่จะต้องเป็นผู้ให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่บุคคลไร้ความ สามารถในอันที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด

หักกลบลบหนี้ 
หมายถึง  การ ที่คนสองคนต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน และหนี้นั้นเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว และคนใดคนหนึ่งแสดงเจตนาต่ออีกคนหนึ่งขอหักกลบลบหนี้เพื่อจะได้พ้นจากหนี้ ของตน เช่น ดำเป็นหนี้แดงอยู่ 20 บาท และแดงก็เป็นหนี้ดำอยู่ 15 บาท ทั้งสองคนจึงตกลงหักกลบลบหนี้กัน ดังนั้น ดำยังคงต้องใช้หนี้แดงอีกเพียง 5 บาท

คำกล่าวโทษ

หมายถึง  การ ที่บุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้เป็นผู้กล่าวหรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ขึ้นโดยจะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่รู้ก็ตาม

แจ้งความเท็จ

หมายถึง  การ นำเอาข้อเท็จจริงมาแจ้งต่อเจ้าพนักงาน โดยอาจแจ้งความด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ตาม ไม่ว่าการแจ้งนั้นจะมาแจ้งโดยตรงหรือแจ้งโดยการตอบคำถามของเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ ผู้แจ้งจะต้องรู้ว่าข้อความที่ตนแจ้งนั้นเป็นเท็จ ถ้าผู้แจ้งไม่รู้ว่าข้อความนั้นเป็นเท็จก็ไม่มีความผิด

โมฆะกรรม
หมายถึง  การ กระทำที่สูญเปล่า ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมต่างๆ นิติกรรมที่ทำนั้นเสียเปล่าไม่เกิดผลในทางกฎหมาย เท่ากับว่านิติกรรมนั้นไม่ได้ทำขึ้นมาเลย ใครเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมกล่าวอ้างการเป็นโมฆะกรรมได้เสมอ เช่น นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย เช่น ทำสัญญาจ้างฆ่าคน , ทำสัญญาจ้างให้เหาะให้ดู ฯลฯ

โมฆียกรรม
หมายถึง  การ ทำนิติกรรมที่สมบูรณ์ซึ่งมีผลบังคับได้ตามกฎหมายจนกว่าจะถูกบอกล้าง เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยมีเหตุบกพร่องบางอย่างในเรื่องความสามารถ หรือในเรื่องการแสดงเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เหตุบกพร่องไม่ได้ทำให้นิติกรรมสูญเปล่า นิติกรรมนั้นคงใช้ได้ตามกฎหมายตลอดไปจนกว่าจะมีการบอกล้าง เมื่อบอกล้างแล้วจึงถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ เสียเปล่ามาตั้งแต่แรก แต่ถ้าไม่ได้มีการบอกล้างจนล่วงเลยกำหนดตามกฎหมาย หรือมีการให้สัตยาบันรับรู้ในนิติกรรมนั้น นิติกรรมนั้นก็เป็นอันสมบูรณ์
นิติกรรมอำพราง
หมายถึง  การ ทำนิติกรรมขึ้นสองอย่าง อย่างหนึ่งทำขึ้นโดยมีเจตนาเพียงเพื่อปกปิดหรืออำพรางนิติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องการให้เป็นที่เปิดเผย ผลในทางกฎหมาย นิติกรรมอย่างแรกจะเป็นโมฆะ เพราะเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างคู่กรณี ส่วนนิติกรรมอย่างหลังที่ถูกอำพรางไว้จะมีผลในทางกฎหมาย

ความผิดหลายบท
หมายถึง  การ กระทำที่เป็นกรรมเดียวแต่เป็นความผิดตามกฎหมายหลายบท ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมายบทที่หนักที่สุด เช่น เอาหินขว้างใส่บ้านจนกระจกแตก และหินไปโดนคนในบ้านกะโหลกแตกตายอีกด้วย เป็นการทำผิดกฎหมายสองบทคือ เจตนาทำให้เสียทรัพย์ และฆ่าคนตาย เช่นนี้ผู้กระทำต้องรับโทษฐานฆ่าคนตาย ซึ่งมีโทษหนักกว่า
ที่มา: JeanZal2 .(2554). คำศัพท์กฎหมายทั่วไป. (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://blog.eduzones.com/cazii/82767 [7 พฤศจิกายน 2555]. 

โดยทุจริต

หมายถึง  เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

สาธารณสถาน

หมายถึง  สถานที่ใดๆซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
ดังนั้นความหมายของที่รโหฐาน จึงหมายถึงสถานที่ใดๆที่ประชาชนไม่มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้  เช่น เคหสถาน  เป็นต้น


อาวุธ
หมายถึง  สิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ

 เอกสาร  
หมายถึง  กระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่ได้ถูกบันทึก หรือทำให้ปรากฏด้วยการเขียน พิมพ์ ถ่ายรูป บันทึก หรือวิธีอื่นใด ให้ปรากฏเป็นข้อมูล ข่าวสาร ตัวเลข แบบ แผนผัง หรือสัญลักษณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดความหมายเพื่อการสื่อสารเกิดความเข้าใจได้

ที่มา: กลุ่มผู้หญิงกับสันติภาพ. (2553). คำศัพท์ทางกฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/wepeaceyala/kha-saphth-thang-kdhmay [7 พฤศจิกายน 2555]. 



จำเลย
หมายถึง ผู้ถูกฟ้องความ

โจทก์
หมายถึง ผู้ทักท้วง, ผู้ฟ้อง; ผู้กล่าวหา

กรรมสิทธิ์
หมายถึง ความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน รวมทั้งเครื่องหมายการค้า การพิมพ์และแปลหนังสือ

พยาน
หมายถึง ผู้รู้เห็น, คนหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันจะอ้างเป็นหลักฐาน

คดี
หมายถึง ทาง เช่น คดีโลก คดีธรรม; เรื่อง, ความ (คือเรื่องฟ้องร้องกันในโรงศาล)

ฟ้อง
หมายถึง กล่าวหา, กล่าวโทษต่อผู้ใหญ่หรือต่อศาล

จำนำ
หมายถึง เอาของไปไว้แทนเงินที่กู้มา

เจ้าหนี้
หมายถึง เจ้าของหนี้, ผู้ขายเชื่อ หรือให้กู้ยืมทรัพย์แก่บุคคลซึ่งเรียกว่าลูกหนี้

ลูกหนี้
หมายถึง ผู้เป็นหนี้, คู่กับคำว่า เจ้าหนี้

เช่าซื้อ
หมายถึง วิธีการซื้อโดยผ่อนส่งเงิน


ที่มา: เปลื้อง ณ นคร. (2554).  พจนานุกรม ไทย-ไทย  (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://guru.sanook.com/dictionary[7 พฤศจิกายน 2555]. 



หมิ่นประมาท
หมายถึง การ กล่าวด้วยวาจา หรือ ขีดเขียนเป็นหนังสือ หรือสะแดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจจะให้ผู้ถูกกล่าวเสียชื่อเสียงหรือให้คนทั้งหลายดูหมิ่นหรือเกลียด ชังในส่วนตัวผู้ถูกกล่าว ในตำแหน่งหน้าที่ ในวิชชาหากินหรือในการค้าขายของผู้ถูกกล่าว

ซื้อขาย
หมายถึง สัญญา ซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

นิติกรรม
หมายถึง  การใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระวางบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ

หมายนัด
หมายถึง  หมายที่ศาลนัดดูความให้ไปยังศาล

กติกา
หมายถึง 
การกำหนด, การนัดหมาย

กะเกณฑ์
หมายถึง
  บังคับ, กำหนด, หมาย

คำสนอง
หมายถึง
  คำรับตามที่มีผู้ขอเสนอมา


สมาหารหิตะคดี(โป๊ โปรคุปต์).(2549).พจนานุกรมกฎหมาย.กรุงเทพฯ:วิญญูชน.

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำตนเอง







นางสาวสุนิสา  จิตติศักดิ์

รหัสนักศึกษา 5311103086   
คณะครุศาสตร์
หลักสูตร คณิตศาสตร์



ประวัติการศึกษา

จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดวังฆ้อง
จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนสามตำบลวิทยาประชาสรรค์
จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนมัธยมศึกษาจุฬาภรณ์
ปัจจุบัน กำลังศึกษา ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช คณะครุศาสตร์
หลักสูตร คณิตศาสตร์

ปรัชญาของตนเอง


ทำวันนี้ให้ดีที่สุด


เบอร์โทร 0852613710